วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เซปัคตะกร้อ

สถานที่ถ่ายทำ : สนามตะกร้อ โรงเรียนเชียงคำวิทยาคม
ผู้สาธิตการเล่นตะกร้อ : น.ส. ไทสิริ วงศ์ใหญ่ และ ผู้ร่วมทีม
ผู้ถ่ายทำ : น.ส.นิราพร วงศ์ใหญ่
ผู้ตัดต่อ : น.ส.นัยน์ปพร แก้วดำ

ฉาก 1:แนะนำ การวอร์มร่างกาย วิ่งรอบสนามฟุตบอล เสร็จแล้วมายืดแขน ยืดตามปกติยังไงก็ได้ เสร็จมามานั่งยืด ท่าที่ 1.โดยเอาฝ่าเท้าชิดกันแล้วก้มตัวลงไปประมาณ 5 วิหรือประมาณเอาเอง 2.เอาขาขวาออกมาข้างนึง แต่เท้าซ้ายยังคงอยู่ในท่าที่1 เหมือนเดิมแล้ว ก้มตัวยืดไปทางขาขวา และสลับข้างกับเท้าซ้าย ทำเหมือนเดิม 3.ฉีกขาทั้งสองข้างออก แล้ว เอียงตัวไปทางขา ขวาและซ้าย สลับกัน เสร็จแล้วก็ก้มลงไปข้างหน้าตัวเอง

ฉาก 2:เทคนิคการเดาะตะกร้อ โดยใช้ข้างเท้าแปลให้เต็มข้างเท้า เดาะซ้ายขวาสลับกัน จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นเดาะ สูงต่ำ สลับกัน และใช้หลังเท้า เดาะซ้ายขวาสลับกันเหมือนเดิม จากนั้นใช้เข่า โดยใช้ประมาณหน้าขาเดาะ และการใช้หัว ใช้หน้าผาก บนๆนิดนึงโม่ง

ฉาก 3:เทคนิคการโต้คู่(เล่นลูกสูง ลูกต่ำ)ยืนสองข้างสนาม แล้วเดาะลูกตะกร้อหากัน ตอนแรกก็ เดาะลูกสูงไปก่อน พอสักพักเดาะได้แล้ว ก็เดาะลูกต่ำ

ฉาก 4:เทคนิคการโยนลูกให้ ผู้เสิร์ฟ ให้อยู่ในวง แล้วโยนลูก ในการโยนลูกนั้น ห้ามยกเท้า ก็โยนตามปกติ ตามที่ผู้เสิร์ฟ วางมือไว้

ฉาก 5:เทคนิคการเสิร์ฟ มีทั้งการเสิร์ฟ ข้างเท้า และหลังเท้า

ฉาก 6:เทคนิคการเตะ จะมีเตะแบบ ขึ้นเท้าซ้าย แล้ว ลงเท้าขวา ,ขึ้นเท้าซ้ายลง ซ้าย และเตะแบบซันแบล็ค

ฉาก 7:เทคนิคการชง จะชงให้ผู้เตะ นั้นเตะ ชง ก็คือการ เดาะลูกตั้งให้แก่ผู้เตะ

ฉาก 8:เทคนิคในการเล่นทีม จะให้ผู้เล่นนั้น เปิด ชง และ เตะ โดยมีคนโยนลูกจากอีกฝั่งนึง

trueploo

ถ่ายทำที่ : สนามตะกร้อ โรงเรียน เชียงคำ
ผู้สาธิตการเล่นตะกร้อ : น.ส.ไทสริ วงศ์ใหญ่ และ เพื่อน
น.ส.นิราพร วงศ์ใหญ่ เป็นผู้ถ่า

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แนงทางการประกอบอาชีพ

แนวทางประกอบอาชีพ (กลับด้านบน)บริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมโยธา เช่น ตำแหน่งวิศวกรโครงการ วิศวกรออกแบบ
วิศวกรควบคุมงาน
หน่วยงานราชการ เช่น กรมโยธาธิการ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน เป็นต้น
กิจการของตนเอง เช่น เปิดบริษัทออกแบบ รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น

แนวทางการศึกษาต่อ (กลับด้านบน)นักศึกษาที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถศึกษาต่อสาขาวิชานี้ในสาขาเฉพาะทางต่างๆ
เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขา หรือนักศึกษาสามารถที่จะศึกษาต่อในด้านบริหาร การจัดการหรือด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศ หรือสาขาวิชาอื่นๆ เพื่อเป็นส่วนช่วยเสริมให้งานหลักด้านวิศวกรรมโยธามีความคล่องตัวและ
เด่นมากขึ้น

ข้อมูลหลักสูตร (กลับด้านบน)หลักสูตร 4 ปี
จำนวนหน่วยกิต 151 หน่วยกิต
หน่วยกิตละ 1,500 บาท
คุณสมบัติผู้สมัคร รับผู้จบ ม.6/ปวช. (เกรดGPA 2.00 ขึ้นไปไม่ต้องสอบ)

หลักสูตร เทียบโอน
จำนวนหน่วยกิต 115-119 หน่วยกิต
หน่วยกิตละ 1,500 บาท
คุณสมบัติผู้สมัคร รับผู้จบ ปวส. (เกรดGPA 2.25 ขึ้นไปไม่ต้องสอบ)

ห้องปฏิบัติการที่โดดเด่น



- หมวดวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง มีห้องปฏิบัติการคอนกรีตเทคโนโลยี ห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุ
และห้องปฏิบัติการโครงสร้าง ซึ่งได้รับการออกแบบให้ผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อประโยชน์
สูงสุดในการให้บริการ โดยได้ทำการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ ระบบ Strong Floor,
Strong wall, Hydraulic Jacks, Controllers, Supporting Frames ตลอดจนระบบการจัดเก็บข้อมูล
(Displacement Transducers, Accelerometers, and Data Acquisition Systems) เป็นต้น
ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับงานวิจัยทางด้านพฤติกรรมของโครงสร้างและวัสดุ เช่น การศึกษา
พฤติกรรมทางด้านสถิตศาสตร์ (Static) และพลศาสตร์ (Dynamic) ของโครงสร้างคาน แผ่นพื้น เสา และ
โครงข้อแข็งขนาดใหญ่ ทั้งที่เป็นโครงสร้างเหล็ก โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และโครงสร้างคอนกรีต
อัดแรง โดยสามารถทำการทดสอบที่กำลังรับน้ำหนักสูงสุดได้ถึง 300 ตัน (3x106 N) ซึ่งเทียบเท่าหรือ
เหนือกว่าสถาบันการศึกษาชั้นนำบางแห่งในประเทศ
นอกจากนี้ระบบการจัดเก็บข้อมูลจากเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า (Data Acquisition Systems) ที่ทาง
ภาควิชาฯ ได้ทำการออกแบบและพัฒนาร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมวัดคุม ถือว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง
มีความยืดหยุ่น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยได้อย่างกว้างขวางหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งมีราคา
ที่ถูกกว่าระบบจัดเก็บข้อมูลสำเร็จรูป (Data Logger) ซึ่งมีขีดความสามารถและขอบเขตการใช้งานที่จำกัด
หลายเท่าตัว
- ในหมวดด้านวิศวกรรมชลศาสตร์ มีเครื่องมือทดสอบทางด้านวิศวกรรมชลศาสตร์ (Hydraulic Engineering)
และการจัดทำแบบจำลองเพื่อการศึกษาพฤติกรรมการไหลของน้ำ
- ในหมวดด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มีห้องปฏิบัติการสำหรับวิชาในสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เช่น Water
Supply and Sanitary Engineering และ Wastewater Engineering Design ปฏิบัติการพื้นฐานที่ห้องปฏิบัติการ
นี้สามารถรองรับได้ตามมาตรฐาน Standard Method ได้แก่ pH, Acidity, Alkalinity and Carbon dioxide, Solid
Determinations, Hardness, Chloride, Conductivity, Dissolved Oxygen, Biochemical Oxygen Demand,
Chemical Oxygen Demand, Nitrogen, Iron and Manganese, Phosphorus และ Sulfate
- ในหมวดงานวิศวกรรมสำรวจ มีเครื่องมือที่ทันสมัย ได้แก่ กล้องสำรวจ กล้องระดับ RTK GPS Total Station และ
Digital Level เพื่อรองรับงานวิจัยทางด้านการสำรวจขอบเขตและการจัดทำแผนที่ทางทะเลนอกจากนี้ยังมีโครงการ
จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทางด้าน GIS สำหรับงานวิจัยและพัฒนาทางด้านวิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมแหล่งน้ำ และวิศวกรรม
ปฐพีกลศาสตร์อีกด้วย
- ในหมวดวิศวกรรมปฐพี มีเครื่องมือทดสอบคุณสมบัติดินได้ครอบคลุมการใช้งานและการวิเคราะห์ออกแบบได้
ด้วยระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยแบบ Central Data Acquisition System

รายละเอียด

วิศวกรโยธา...หัวใจหลักของการพัฒนาประเทศดูรายละเอียดสาขาวิชาอื่นๆ

สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
- วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- วิศวกรรมโทรคมนาคม
- วิศวกรรมระบบวัดคุม
- วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
-------------------------------
สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
สาขาวิศวกรรมโยธา
สาขาวิศวกรรมเคมี
สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมโลจิสติกส์
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร


วิศวกรรมโยธาเป็นอีกสาขาวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ
ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และยังเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อความปลอดภัยในชีวิตและ
ทรัพย์สินของสาธารณชนตลอดจนคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอีกด้วย

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้ตระหนักถึงภาระกิจข้างต้นเป็นอย่างดี
จึงได้ทำการก่อสร้างอาคารโรงประลองขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 4,000 ตารางเมตร และทุ่มเท
งบประมาณเป็นจำนวนเงินถึง 30 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อและพัฒนาขีดความสามารถของเครื่องมือ
ตลอดจนอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการทดสอบในห้องปฏิบัติการต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพทางด้าน
การเรียนการสอนให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สามารถรองรับจำนวนนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท และปริญญาเอกในอนาคต และเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของห้องปฏิบัติการ
ให้สามารถรองรับงานวิจัยของนักศึกษาและงานวิจัยชั้นสูงของอาจารย์ในภาควิชาฯ ตลอดจนเป็นการ
เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการทางด้านวิชาการให้กับสังคมอีกด้วย

หมวดสาขาวิชาย่อยของภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้แก่

- วิศวกรรมโครงสร้าง - วิศวกรรมการขนส่ง
- วิศวกรรมการก่อสร้างและการจัดการ - วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- วิศวกรรมสำรวจ - วิศวกรรมปฐพี
- วิศวกรรมแหล่งน้ำและการจัดการแบบบูรณาการ

วิศวกรรมโยธา

วิศวกรรมโยธาเป็นสาขาที่กว้างขวางและมีบทบาทต่อสังคมมากที่สุดสาขาหนึ่งของวิศวกรรมศาสตร์ งานของวิศวกรโยธาเกี่ยวพันกับการก่อสร้างอาคาร สะพาน เขื่อน ถนนและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆอีกมากมาย วิศวกรโยธามีหน้าที่วางแผน ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างตั้งแต่งานขนาดเล็กไปจนถึงโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น ตึกระฟ้า ท่าอากาศยาน ศูนย์การผลิตและควบคุมบำบัดน้ำเสีย นอกจากนี้วิศวกรโยธายังมีบทบาทสำคัญในการคิดค้นและพัฒนาระบบขนส่งและระบบสาธารณูปโภคในอนาคต เช่น การออกแบบระบบรถไฟอนาคตซึ่งใช้แรงแม่เหล็กเพื่อออกแรงยกตัวและเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Magnetic levitation trains)

นิยามเกี่ยวกับอาชีพวิศวกรโยธา

ออกแบบ คำนวณ วางแผน จัดระบบงาน ควบคุมงานโครงการ พิจารณาตรวจสอบ ให้คำปรึกษาด้านการก่อสร้างอาคารโรงงาน อาคารสาธารณะ สะพาน อู่เรือ เขื่อนกั้นน้ำ กำแพงกั้นน้ำ โครงสร้างอื่น รวมทั้งการติดตั้ง การใช้และการบำรุงเครื่องจักรต่าง ๆ : พิจารณาโครงการ สำรวจหาสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการก่อสร้าง ; สำรวจและประเมินลักษณะและความหนาแน่นของการจราจรทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ เพื่อพิจารณาว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไร ; สำรวจพื้นผิวดินและใต้ผิวดิน เพื่อนำไปออกแบบฐานรากที่เหมาะสม ปรึกษาหารือในการก่อสร้างกับผู้ชำนาญการสาขาอื่น ๆ เช่น วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรสิ่งแวดล้อมหรือวิศวกรเครื่องกล กรณีที่มีการก่อสร้างงานระบบต่าง ๆ เพื่อกำหนดผังฐานรองท่อร้อยสายไฟฟ้า ท่องานระบบต่าง ๆ และงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ; คำนวณหาค่าความเค้น ความเครียด ปริมาณน้ำ ความแรงของลมและอุณหภูมิ ความลาดและตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการคำนวณออกแบบงานด้านโยธา ตรวจสอบแปลนรายการก่อสร้าง ปริมาณวัสดุ และประมาณการราคาในงานโยธา ; กำหนดอุปกรณ์ เครื่องจักรต่าง ๆ ในงานก่อสร้าง เช่น งานดินถมดินตัดในงานถนน งานเขื่อน งานโยธาชนิดอื่น ๆ ; วางแผนการปฏิบัติงานและควบคุมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ; ทดสอบ ตรวจสอบโครงสร้างทั้งเก่าและใหม่เพื่อวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรง รวมทั้งควบคุมการซ่อมแซมกรณีที่เกิดการชำรุดเสียหายขึ้น

ลักษณะของงานที่วิศวกรโยธาต้องรับผิดชอบ

วางแผน จัดระบบงาน และควบคุมงานสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร ตลอดจนการติดตั้ง การใช้และการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกและระบบสาธารณสุขอื่นๆ พิจารณาโครงการ และทำงานสำรวจเพื่อหาสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการ ก่อสร้าง สำรวจและประเมินลักษณะ และความหนาแน่นของการจราจรทางอากาศทางบก และทางน้ำเพื่อพิจารณาว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไรบ้าง สำรวจดูพื้นผิวดินและใต้ผิวดินว่าจะมีผลต่อการก่อสร้างอย่างใด และเหมาะสมที่จะรองรับสิ่งก่อสร้างเพียงใด ปรึกษาหารือในเรื่องโครงการกับผู้ชำนาญงานสาขาอื่นๆ เช่น วิศวกรไฟฟ้า หรือวิศวกรช่างกล วางแผนผังรากฐาน ท่อสายไฟ ท่อต่างๆ และงานพื้นดินอื่นๆ คำนวณความเค้น ความเครียด จำนวนน้ำ ผลอันเนื่องมาจากความแรงของลมและอุณหภูมิ ความลาด และเหตุอื่นๆ เตรียมแบบแปลนรายงานก่อสร้าง และจัดทำประมาณการวัสดุและประมาณการราคา เลือกชนิดของเครื่องมือขนย้ายดิน เครื่องชักรอก เครื่องจักรกล และเครื่องมืออื่นๆ ที่จะใช้ในงานก่อสร้าง จัดทำตารางปฏิบัติงานและควบคุมให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทดสอบ และตรวจดูโครงสร้างทั้งเก่า และใหม่ ตลอดจนวางแผนและจัดระบบงานซ่อม

ลักษณะการจ้างงานและการทำงาน

ผู้ประกอบอาชีพนี้ ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือน ตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน โดยส่วนใหญ่จะทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องมาทำงานวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุด อาจจะต้องทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จให้ทันต่อการใช้งาน นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น สถานที่ทำงานของวิศวกรโยธาจะมีสภาพเหมือนที่ทำงานทั่วไป คือ เป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป แต่โดยลักษณะงานที่จะต้องควบคุมงานสำรวจ ก่อสร้าง หรือซ่อมแซมจึงจำเป็นที่จะต้องตรวจดูงานนอกสถานที่ในบางครั้ง เนื่องจากต้องควบคุมดูแลงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับงานหรือสถานที่ทำงานที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย ในการทำงาน วิศวกรโยธาจึงต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน

เนื้อหาที่ต้องเรียนรู้เมื่อเข้ามาศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธา
การเขียนแบบวิศวกรรม 1 (Engineering Drawing I) การใช้เครื่องมือเขียนแบบ ออโตกราฟฟิคโปรเจคชั่น การเขียนภาพออโตกราฟฟิค การเขียนภาพพิคตอเรียล การกำหนดขนาดการเขียนภาพตัด การสะเก็ดภาพด้วยมือ

กลศาสตร์ของไหล (Fluid Mechanics) คุณสมบัติของของไหล ของไหลสถิตย์ ชนิดของการไหล สมการควบคุมสภาพ โมเมนตัมเชิงเส้น สำหรับการไหลคงที่ ผลจากการเสียดทาน การไหลแบบสม่ำเสมอของของไหลอัดตัวไม่ได้ การไหลในท่อแบบราบเรียบและแบบปั่นป่วน การวัดการไหล การวิเคราะห์มิติ การไหลหนืดแบบราบเรียบ การประยุกต์งานของไหลในงานวิศวกรรม เช่น การหล่อลื่น เครื่องจักรกลของไหล การจำแนกประเภทและการประเมินสมรรถนะของเครื่องกังหันชนิดหมุนเหวี่ยงและชนิดในแนวแกน

ปฏิบัติการกลศาสตร์ของไหล (Fluid Mechanics Laboratory) เครื่องกังหันเพลตัน เครื่องกังหันฟรานซิส เครื่องกังหันคาพาล การทดสอบสมรรถนะของปั๊ม การต่อปั๊มแบบอนุกรมและขนาน การหล่อลื่นในแบริ่ง

ปฏิบัติการวิศวกรรมโรงงาน (Engineering Workshop Practice) งานปรับแต่งโลหะ : การใช้เครื่องมือวัดอย่างง่าย งานตะไบ การทำเกลียวนอกและเกลียวใน งานโลหะแผ่น งานเชื่อมโลหะ : การเชื่อมแก๊ส การเชื่อมไฟฟ้า การบัดกรี เครื่องมือกลอย่างง่าย : การใช้เครื่องเจาะ เครื่องเลื่อย ค้อน สกัด

สถิติวิศวกรรม (Engineering Statistics) ทฤษฎีความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม การพิสูจน์เชิงสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวน สหสัมพันธ์และการหาสมการความสัมพันธ์ การใช้วิธีการทางสถิติเพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา

วัสดุวิศวกรรม (Engineering Materials) การศึกษาวัสดุทางวิศวกรรม เช่น โลหะ พลาสติก แอสฟัลท์ ไม้และคอนกรีต การศึกษาเฟสไดอะแกรม การทดสอบคุณสมบัติวัสดุ การศึกษาโครงสร้างทางจุลภาคและมหภาคที่สัมพันธ์กับคุณสมบัติวัสดุ กระบวนการผลิตสำหรับชิ้นส่วนต่างๆที่ใช้วัสดุวิศวกรรม

โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร (Computer Programming for Engineer) ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ โครงสร้างโปรแกรม แผนภูมิ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณ เช่น ฟอร์แทรน ปาสคาล วิชวลเบสิค

แนะนำวิชาชีพวิศวกรรม (Introduction to Engineering) ประวัติวิศวกรรมศาสตร์ วิชาชีพวิศวกรรมศาสตร์ แนวทางการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรม การคำนวณทางวิศวกรรม วิชาพื้นฐานของวิศวกรรมศาสตร์ การสื่อความหมายทางวิศวกรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพวิศวกรรม

สถิตยศาสตร์วิศวกรรม (Engineering Statics) ระบบแรง ผลรวมของแรง ความสมดุล ของไหลสถิตย์ คิเนติกส์และคิเนเมติกส์ของอนุภาคและวัตถุ กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน ความฝืด หลักการของวิธีงานสมมุติ ความมั่นคง โมเมนต์ของการเคลื่อนที่

กำลังวัสดุ 1 (Strength of Materials 1) หน่วยแรงและความเครียด คุณสมบัติกลของวัสดุ หน่วยแรงดัดและหน่วยแรงเฉือนในคาน คานประกอบและคานคอนกรีตเสริมเหล็ก หน่วยแรงบิด หน่วยแรงหลัก หน่วยแรงผสมและวงกลมโมร์ พลังงานความเครียดกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโครงสร้าง รอยต่อแบบหมุดย้ำ สลักเกลียวและรอยเชื่อม

กำลังวัสดุ 2 (Strength of Materials II) การโก่งตัวของเสารับน้ำหนักตรงศูนย์ เสารับน้ำหนักเยื้องศูนย์ ชิ้นส่วนรับแรงดึงและแรงดัด คานโค้ง คานต่อเนื่องกับทฤษฎีไตรโมเมนต์ คานบนฐานยืดหยุ่น การบิดของชิ้นส่วนหน้าตัดไม่กลม การบิดของท่อผนังบางหน่วยแรงในภาชนะรับแรงดันผนังบาง ความเข้มของหน่วยแรง แรงกระแทกและแรงกระทำซ้ำ ทฤษฎีการวิบัติ

คณิตศาสตร์ประยุกต์สำหรับวิศวกรโยธา (Applied Mathematics for Civil Engineering) อนุกรมเทเลอร์ อนุกรมฟูเรียร์ ปัญหาค่าขอบเขตในเรื่องคานและคานเสา ปัญหาค่าเริ่มต้น เมตริกซ์ และ ดีเทอร์มินัน ระบบของสมการเชิงเส้น ปัญหาค่าไอเกนในเรื่องการโก่งเดาะ

การสำรวจ 1 (Surveying I) หลักการพื้นฐานของการสำรวจ เครื่องมือในการสำรวจ การทดสอบและปรับแก้เครื่องมือ การวัดและความคลาดเคลื่อน ความละเอียดและความถูกต้อง การวัดระยะทาง โต๊ะแผนที่ การทำระดับ การสำรวจด้วยเข็มทิศ การวัดมุมด้วยกล้องธีโอโดไลท์ การทำวงรอบ การหาพื้นที่สเตเดียและการสำรวจด้วยสเตเดีย

การสำรวจ 2 (Surveying II) การทำโครงข่ายสามเหลี่ยมเบื้องต้น เส้นชั้นความสูง การคำนวณงานดิน การแบ่งชั้นงานสำรวจและการปรับแก้ การหาอาซิมมุทอย่างละเอียด การสำรวจด้วยกล้องธีโอโดไลท์แบบอิเล็กทรอนิกส์ การสำรวจเส้นทาง การสำรวจงานก่อสร้าง การทำแผนที่

การฝึกงานสำรวจภาคสนาม (Practical Training in Surveying) การฝึกงานสำรวจภาคสนาม งานรังวัด/สำรวจพื้นที่ การสร้างหมุดควบคุมทางราบและทางดิ่ง การจัดทำขอบเขตพื้นที่สำรวจ การเก็บรายละเอียดบนพื้นที่ การจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ การคำนวณหาปริมาณงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางวิศวกรรม การจัดทำรายงานและเอกสารการสำรวจ

ธรณีวิทยาวิศวกรรม (Engineering Geology) โครงสร้างและลักษณะของผิวโลก แร่ หินและดิน การผุพัง การกัดกร่อน การเคลื่อนที่ของมวล การทับถม การก่อตัวของดิน แผ่นดินไหว ชั้นน้ำบาดาล ธรณีกาล แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ธรณีวิทยา การสำรวจทางธรณีวิทยาในงานวิศวกรรมโยธา

วิศวกรรมชลศาสตร์ (Hydraulics Engineering) การจำแนกการไหลทางชลศาสตร์ หลักการพื้นฐานของการไหลซึ่งได้แก่ กฎแห่งการไม่สูญหายของมวล หลักการทางพลังงาน และหลักการทางโมเมนตั้ม การไหลในท่อและอุโมงค์ปิด การไหลในทางน้ำเปิด การไหลในทางน้ำเปิดที่เปลี่ยนขนาด การไหลผ่านจุดบังคับน้ำ การไหลในสภาพไม่คงตัว การเคลื่อนที่ของคลื่น การเคลื่อนที่ของตะกอน

ปฏิบัติการวิศวกรรมชลศาสตร์ (Hydraulics Engineering Laboratory) การทดลองในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา วิศวกรรมชลศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจทฤษฎีและพฤติกรรมทางชลศาสตร์ได้ดีขึ้น

การเขียนแบบวิศวกรรม 2 (Engineering Drawing II) พื้นฐานการเขียนแบบด้วย CAD ระบบ 2 มิติ และ 3 มิติ การเขียนรูปเรขาคณิต รูปทรงต้น รูปทรงพื้นผิว รูปตัด ตัวอักษร มิติการเขียนแบบก่อสร้าง การพิมพ์แบบ

ทฤษฎีโครงสร้าง (Structural Theory) เสถียรภาพและสถานภาพการหาคำตอบของโครงสร้าง การวิเคราะห์คานโครงข้อหมุนและโครงข้อแข็งแบบหาคำตอบได้โดยง่าย เส้นอิทธิพลของคาน ระบบพื้นคานและโครงข้อหมุนสะพานแบบหาคำตอบได้โดยง่าย การคำนวณค่าวิกฤตสำหรับน้ำหนักเคลื่อนที่และการเสียรูปแบบยืดหยุ่นของโครงสร้างโดยวิธีงานสมมุติ วิธีของคาสติเกลียโน วิธีโมเมนต์-พื้นที่ และวิธีคานเสมือน

การวิเคราะห์โครงสร้าง (Structural Analysis) การวิเคราะห์คาน โครงข้อหมุนและโครงข้อแข็งแบบไม่สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยสมการสมดุลตามลำพัง โดยอาศัยหลักการพลังงาน ได้แก่วิธีความโก่ง ความชัน และวิธีการกระจายโมเมนต์ เส้นอินฟลูเอ็นซ์สำหรับโครงสร้างแบบไม่สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยสมการสมดุลตามลำพัง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงพลาสติก และวิธีวิเคราะห์โครงสร้างโดยใช้เมตริกซ์

ปฏิบัติการวิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering Laboratory) การวัดความเครียดโดยใช้ตัววัดความเครียดแบบเชิงกล แสง และไฟฟ้าโฟโตอีลาสติกซิตี้ การทดสอบคานคอนกรีตเสริมเหล็ก คานคอนกรีตอัดแรงคานเหล็กและเสา การทดสอบโครงเหล็กและโครงข้อหมุนจำลอง

กลศาสตร์ดิน (Soil Mechanics) กำเนิดของดิน คุณสมบัติทางฟิสิคส์ของดิน การจำแนกดิน การสำรวจดิน การไหลของน้ำในดิน ความเค้นในดิน กำลังเฉือนของดินเม็ดหยาบ กำลังเฉือนของดินเม็ดละเอียด ทฤษฎีการอัดตัว การทรุดตัว การบดอัดดิน

ปฏิบัติการกลศาสตร์ดิน (Soil Mechanics Laboratory) การเก็บและเตรียมตัวอย่างดิน การหาความถ่วงจำเพาะ การวิเคราะห์ขนาดเม็ดดินโดยตะแกรงและไฮโดรมิเตอร์ พิกัดแอทเทอร์เบิร์ค การทดลองหาความซึมผ่านได้ การทดลองการอัดตัวในทิศทางเดียว การทดลองหากำลังเฉือนโดยตรง การทดลองกดอัดทางเดียว การทดลองกดอัดสามทาง

วิศวกรรมฐานราก (Foundation Engineering) การสำรวจดิน การวิเคราะห์หากำลังรับน้ำหนักบรรทุกและการทรุดตัวของฐานราก ฐานรากตื้นและฐานรากหยั่งลึก แรงดันด้านข้างของดิน การออกแบบฐานรากตื้น การออกแบบฐานรากเสาเข็ม การออกแบบกำแพงกั้นดินและเข็มพืด เสถียรภาพของคันดิน

อุทกวิทยา (Hydrology) ระบบและกระบวนการทางอุทกวิทยา วัฏจักรของน้ำ การหมุนเวียนของบรรยากาศและการตกของน้ำลงสู่ผิวโลก การวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝน คุณสมบัติและลักษณะของฝน การสูญหายทางอุทกวิทยา ลักษณะทางอุทกวิทยาและการไหลของน้ำใต้ผิวดิน น้ำท่าและชลภาพ การหาการเคลื่อนที่ของน้ำ การทำนายทางอุทกวิทยา การออกแบบทางอุทกวิทยา การสร้างแบบจำลองและการจำลองสภาพทางอุทกวิทยา

วิศวกรรมการประปาและสุขาภิบาล (Water supply and Sanitary Engineering) ระบบประปาและระบบน้ำเสีย ปริมาณน้ำใช้และน้ำทิ้งในชุมชน แหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน ระบบท่อประปาและท่อน้ำทิ้งในชุมชน คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ ลักษณะของน้ำเสีย หลักเบื้องต้นของการผลิตน้ำประปาและบำบัดน้ำเสีย

วิศวกรรมการทาง (Highway Engineering) ระบบทางกลวง องค์กรและสมาคมที่เกี่ยวข้อง การวางแผนและประเมินทางหลวง ลักษณะของผู้ใช้ถนน ยวดยาน การจราจร และถนน การออกแบบทางเรขาคณิต การระบายน้ำ วิศวกรรมการจราจรเบื้องตัน วัสดุการทาง การออกแบบผิวจราจรเบื้องต้น วิธีการก่อสร้าง การบำรุงรักษาและปรับปรุงทางหลวง

ปฏิบัติการวิศวกรรมการทาง (Highway Engineering Laboratory) การวิเคราะห์วัสดุมวลคละ การทดสอบแอสฟัลท์ซีเมนต์ – อิมัลซิฟายด์ และคัทแบคแอสฟัลท์ การทดสอบแอสฟัลติกคอนกรีต

การฝึกงาน (Practical Training) นักศึกษาแต่ละคนจะต้องผ่านการฝึกงานในสถานที่ฝึกงานอยู่ไม่น้อยกว่า 30 วันทำการ การฝึกงานจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจัดหาฝึกงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และนักศึกษาจะต้องส่งบันทึกรายงานการฝึกงานเพื่อประกอบการประเมินผลด้วย

ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์สำหรับวิศวกร (Geographic Information System for Engineers) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์(GIS) ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับ GIS ซอฟแวร์สำหรับGIS ฐานข้อมูลและ การจัดการระบบฐานข้อมูลการเก็บรวบรวมข้อมูล การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแสดงผลข้อมูลในเชิงภูมิศาสตร์พร้อมคำอธิบายที่เกี่ยวข้องเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ

การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Design) ส่วนต่าง ๆ ของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและการคิดน้ำหนัก การออกแบบส่วนต่าง ๆ ของอาคารโดยวิธีหน่วยแรงปลอดภัย และวิธีแรงประลัย ได้แก่ คาน พื้นทางเดียว พื้นสองทาง พื้นไร้คาน บันได เสารับน้ำหนักตรงศูนย์และเยื้องศูนย์ ฐานราก ทฤษฎีเส้นคลากเบื้องต้น

การออกแบบโครงสร้างเหล็กและไม้ (Steel and Timber Design) คุณสมบัติเชิงกลและเชิงกายภาพของโครงสร้างเหล็กและไม้ การออกแบบชิ้นส่วนรับแรงดัด แรงดึง แรงอัดและแรงผสม การออกแบบรอยต่อโครงสร้างเหล็ก รอยต่อโครงสร้างไม้ คานเหล็กประกอบ โครงข้อหมุนเหล็กและคานไม้อัด

การออกแบบคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Design) หลักการ วิธีการ และวัสดุที่ใช้ในการอัดแรง การวิเคราะห์และออกแบบโดยวิธีอิลาสติกสำหรับคานคอนกรีตอัดแรงแบบง่าย กำลังดัดและกำลังเฉือนของหน้าตัดคอนกรีตอัดแรง ปริมาณสูญเสียของการอัดแรง การออกแบบที่ยึด การโก่งคานแบบผสม

การออกแบบอาคาร (Building Design) การวางฝังและการออกแบบอาคารอุตสาหกรรมชั้นเดียว อาคารหลายชั้นและอาคารสูง โดยพิจารณาถึงการออกแบบระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบสุขาภิบาลและระบบเครื่องกลในอาคาร

วิธีการทางคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์โครงสร้าง (Computer Method of Structural Analysis) วิธีเฟลกซิบิลิตี วิธีสติฟเนส วิธีไดเร็คสติฟเนส โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการวิเคราะห์โครงสร้าง

การออกแบบโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหว (Seismic Design of Structures) เปลือกโลก สาเหตุของแผ่นดินไหว องค์ประกอบของโครงสร้าง ระบบพื้นประเภทแข็งหรืออ่อน องค์ประกอบรับแรงแนวดิ่ง ระบบโครงสร้างกำแพงรับแรงเฉือน โครงยึด โครงข้อแข็งที่มีความเหนียว ความเหนียวของโครงสร้าง รายละเอียดของโครงสร้าง

ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของโครงสร้าง (Structural Safety and Reliability) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของโครงสร้าง ทบทวนทฤษฎีความน่าจะเป็น การแจกแจงชนิดที่ใช้กันโดยสามัญ ทฤษฎีความน่าเชื่อถือ การจำลองตัวแปรร่วมในงานวิศวกรรมโยธา การจำลองน้ำหนักบรรทุก ความต้านทานและการตอบสนองของโครงสร้าง วิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ วิธีคำตอบถูกต้อง วิธีคำตอบประมาณ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือมาตรฐานอาคารในปัจจุบัน และการจัดทำมาตรฐานโดยอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น

วัสดุก่อสร้าง (Construction Materials) ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มวลคละในคอนกรีต น้ำและ สารผสมเพิ่มสำหรับคอนกรีต คุณสมบัติของคอนกรีตสดและคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว การบ่ม การออกแบบ ส่วนผสมของคอนกรีต ชนิดและคุณสมบัติของเหล็กโครงสร้าง คุณสมบัติเชิงกลและเชิงกายภาพของไม้ การรักษาไม้ ไม้อัด อิฐและคอนกรีตบล็อค ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์-แอสเบสตอส พลาสติก เซรามิก ยางมะตอย และสี

ปฏิบัติการวัสดุก่อสร้าง (Construction Materials Laboratory) การทดสอบคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ ซีเมนต์ : ความละเอียดและเวลาก่อตัวของซีเมนต์ มวลคละ: สารอินทรีย์เจือปน ค่าสมมูลทราย การพองตัว การกระจาย ขนาดหน่วยน้ำหนัก ความถ่วงจำเพาะ การดูดซึม ความต้านทานต่อการขัดสี คอนกรีต: ปริมาณอากาศ ความข้นเหลว โมดูลัสของความยืดหยุ่น กำลังอัด กำลังดึงและกำลังดัด โลหะ: กำลังดึง และกำลังบิดของเหล็กกล้า อลูมิเนียม เหล็กหล่อ ทองเหลือง ไม้:ความแข็ง กำลังฉีก กำลังเฉือน กำลังอัด และกำลังดัด

การจัดการและเทคนิคการก่อสร้าง (Construction Technique and Management) ขั้นตอนและเทคนิคการก่อสร้างอาคาร ถนน สะพาน เขื่อน อุโมงค์ ระบบท่อและงานสุขาภิบาล การบริหารงานก่อสร้าง การประมาณราคา การวางแผนงานก่อสร้าง การเงินและวัสดุ แรงงานและเครื่องจักร เนทเวอร์คและซีพีเอ็มเบื้องต้น การจัดองค์กร การควบคุมค่าใช้จ่าย การตรวจสอบ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของงานก่อสร้าง

การประมาณและวิเคราะห์ราคา (Construction Cost Estimation and Analysis) หลักการประมาณราคา การประมาณอย่างหยาบ การประมาณอย่างละเอียด การประมาณอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์ต้นทุนของแรงงานและเครื่องจักร การวิเคราะห์ประสิทธิผล ยุทธวิธีการประมูล วิธีการประมูลแบบ A+B

เทคโนโลยีคอนกรีต (Concrete Technology) ส่วนผสมและชนิดของคอนกรีต การเคลื่อนย้าย การหล่อ และการตรวจสอบรับคอนกรีต ข้อกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติของคอนกรีต การออกแบบส่วนผสม การควบคุมคุณภาพคอนกรีต คอนกรีตชนิดพิเศษ สารผสมเพิ่ม การทดสอบคอนกรีตและส่วนผสม

การวางแผนโครงการ (Project Planning) กระบวนการวางแผน การกำหนดเงื่อนไขและปัญหา การวิเคราะห์หาความต้องการด้านเทคนิค ความเหมาะสมด้านการเงิน และเศรษฐศาสตร์ การทำงบประมาณต้นทุน การพิจารณาถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การตัดสินใจในกรณีมีหลายวัตถุประสงค์ การวางแผนขั้นสุดท้ายและการทำให้เป็นผล

เทคโนโลยีแอสฟัลท์ (Asphalt Technology) จุดกำเนิดและอุตสาหกรรมการผลิตแอสฟัลท์ ผิวจราจรแอสฟัลท์สำหรับยวดยาน วัสดุสำหรับผิวจราจรแอสฟัลท์ ประเภทของการก่อสร้างผิวจราจรแอสฟัลท์ คุณสมบัติและการทดสอบ ข้อกำหนด ชนิดของหิน การผสมส่วนคละ การออกแบบส่วนผสม การผลิตและการก่อสร้างคอนกรีตแอสฟัลท์ การดูแลปรับปรุงผิวบน การบำรุงรักษาผิวจราจรแบบแอสฟัลท์ การผสมร้อน การนำกลับมาใช้ใหม่

โครงสร้างดิน (Earth Structures) การใช้ดินเป็นวัสดุก่อสร้าง การบดอัดดินและคุณสมบัติของดินที่บดอัด ปัญหาเกี่ยวกับการซึมของน้ำ การวิเคราะห์เสถียรภาพของความลาด การวิเคราะห์ออกแบบและก่อสร้างทำนบดินและเขื่อนดิน

ฐานรากแบบเสาเข็มและการปรับปรุงดิน (Pile Foundation and Soil Improvement) การหากำลังรับน้ำหนักสูงสุดด้วยวิธีทางสถิตยศาสตร์และพลศาสตร์ การวิเคราะห์การทรุดตัว การออกแบบเสาเข็มรับแรงด้านข้าง การรับแรงของเสาเข็มแบบกลุ่มและเสาเข็มแพ แรงเสียดทานย้อนกลับ เสาเข็มในดินที่มีการพองตัวและหดตัว การโก่งหักของเสาเข็มทรงชะลูด การทดสอบเสาเข็ม วิธีการปรับปรุงดินโดยวิธีบดอัด การอัดแน่นโดยน้ำหนักบรรทุกที่ผิวดิน การฉีดอัดสารเพื่อการอุดแน่น การเติมสารและการเสริมกำลังรับน้ำหนักของดิน

วิศวกรรมธรณีสิ่งแวดล้อม (Geoenvironmental Engineering) ความสำคัญของทรัพยากรดินและแหล่งน้ำใต้ดินในทางวิศวกรรม แหล่งกำเนิดและชนิดของการปนเปื้อน กลไกการเคลื่อนที่ของสารปนเปื้อนในตัวกลางพรุน องค์ประกอบของระบบเก็บกักกากของเสีย หน้าที่และประเภทของวัสดุกันซึมในการควบคุมการเคลื่อนที่ของสารปนเปื้อน วัสดุกันซึมธรรมชาติและวัสดุธรณีสังเคราะห์ การติดตามและปรับปรุงคุณภาพของดินและแหล่งน้ำใต้ดิน

ชลศาสตร์ของน้ำใต้ดิน (Groundwater Hydraulics) กลศาสตร์การไหลผ่านตัวกลางพรุน กฏของดาร์ซี่ ระบบชั้นน้ำใต้ดิน สมการการไหลในระบบชั้นน้ำใต้ดิน สมการการเคลื่อนที่ของสารละลายในน้ำใต้ดิน การวิเคราะห์การไหลในสภาพอิ่มตัวด้วยน้ำ แบบการไหลการวิเคราะห์การไหลในสภาพไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ การวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของสารละลายในน้ำใต้ดิน แบบจำลองเชิงตัวเลขของการไหลในระบบน้ำใต้ดิน

วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (Water Resources Engineering) ทบทวนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุทกวิทยาและชลศาสตร์ ประเภทของแหล่งน้ำและการใช้ประโยชน์ การวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำ หลักการออกแบบแหล่งน้ำประเภทต่างๆ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของระบบแหล่งน้ำ

วิศวกรรมชลประทานและการระบายน้ำ (Irrigation and Drainage Engineering) ความต้องการน้ำ ความสัมพันธ์ของน้ำและดิน คุณภาพน้ำ วิธีการชลประทาน โครงสร้างทางชลประทาน การประมาณการไหล การระบายน้ำฝนจากพื้นที่เมือง การระบายน้ำจากพื้นดิน การระบายน้ำจากถนน ท่อลอดและสะพาน

โครงสร้างทางชลศาสตร์ (Hydraulic Structures) หลักการทางชลศาสตร์ที่ใช้ในการออกแบบ การออกแบบอาคารทางชลศาสตร์ซึ่งประกอบด้วย เขื่อน ทางระบายน้ำล้นและคลองส่ง อาคารสลายพลังงาน อาคารลดระดับ ประตูน้ำ อาคารยกระดับน้ำ อาคารวัดปริมาณการไหลแบบต่าง ๆ และระบบการส่งน้ำตามคลอง

การบริหารงานวิศวกรรม (Engineering Management) การบริหารจัดการทางวิศวกรรม (องค์ประกอบของการบริหารจัดการ) การจัดองค์กร (ทฤษฎีการจัดองค์กร) การบริหารจัดการโครงการ (รูปแบบการบริหารจัดการโครงการ) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือเพิ่มผลผลิต งบประมาณ และการประมาณการ สัญญาในงานวิศวกรรม (รูปแบบสัญญาและการเลือกใช้ความเสี่ยง และการบริหารจัดการท่ามกลางความเสี่ยง) การประกันภัย การวางแผนโครงการทางวิศวกรรม (องค์ประกอบและปัจจัยในการวางแผน) การบริหารทรัพยากร-บุคคล (การพัฒนาทักษะหรือศึกยภาพของทรัพยากรบุคคล มนุษย์สัมพันธ์ในองค์กร) สวัสดิภาพและความปลอดภัยในงานวิศวกรรม ข้อมูลข่าวสารในองค์กร (การสื่อสารในองค์กร) การติดตามความก้าวหน้า การประเมิน และควบคุมการคุมโครงการ ข้อพิพาทเรียกร้องและวิธีระงับ

วิศวกรรมการขนส่ง (Transportation Engineering) ระบบการขนส่ง การดำเนินการและการควบคุมยวดยานขนส่ง การวางแผนและการประเมินการขนส่ง การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

การออกแบบผิวจราจร (Pavement Design) ชนิดของผิวจราจร น้ำหนักล้อ หน่วยแรงในผิวจราจรแบบยืดหยุ่นและแบบแข็ง ยวดยานและการจราจร คุณสมบัติและการทดสอบส่วนประกอบของผิวจราจร การออกแบบผิวจราจรแบบยืดหยุ่นและแบบแข็งสำหรับถนนและสนามบิน การก่อสร้าง-การประเมินและการปรับปรุงผิวจราจร

วิธีการคำนวณในวิศวกรรมโยธา (Computational Methods in Civil Engineering) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการคำนวณทางวิศวกรรม การแก้ระบบสมการพีชคณิตเชิงเส้น การแก้ปัญหาย้อนกลับ ปัญหาค่าไอเกน การแก้สมการนอนลิเนียร์ วิธีการเชิงตัวเลขสำหรับการแก้สมการดิฟเฟอร์เรนเชียลแบบธรรมดาและแบบพาร์เชี่ยล

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางวิศวกรรมโยธา (Computer Softwares in Civil Engineering) ทบทวนความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ออกแบบทางวิศวกรรมโยธา เช่น การวิเคราะห์โครงสร้าง การออกแบบโครงสร้าง การวิเคราะห์ทางอุทกวิทยาและชลศาสตร์ การจัดการงานก่อสร้าง การสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

งานโครงการวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering Project) ศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องานโครงการที่เลือกขึ้น โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา เค้าโครงงานโครงการที่จัดทำขึ้นซึ่งประกอบด้วยวัตถุประสงค์ วิธีการและแผนงาน โดยจะต้องนำเสนอโดยการสอบปากเปล่าก่อนการดำเนินการโครงการเพื่อการประเมินแนวความคิด

การสัมมนาทางวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering Seminar) ศึกษา ค้นคว้า และอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับหัวข้อทางวิชาการในปัจจุบันที่น่าสนใจ ตลอดจนการฟังคำบรรยายจากวิทยากรพิเศษ

หัวข้อศึกษาชั้นสูงทางวิศวกรรมโยธา (Advanced Study Topics in Civil Engineering) ศึกษาหัวข้อที่น่าสนใจในปัจจุบันเกี่ยวกับวิทยาการใหม่ๆ ด้านวิศวกรรมโยธาที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและการประกอบวิชาชีพ

*ทั้งนี้รายวิชาในข้างต้นบางรายวิชาอาจจะไม่มีการเรียนการสอน ขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละสถาบันการศึกษา