วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การออกแบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก


พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Slab) เป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบรรทุกต่างๆ ก่อนที่จะส่งถ่ายน้ำหนักบรรทุกเหล่านั้นไปยังคานและเสาต่อไป ซึ่งโครงสร้างของพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กแต่ละประเภทนั้นจะมีคุณลักษณะเฉพาะตัว ดังนั้นในการเลือกใช้งานพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ก็จะต้องพิจารณาให้มีความเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน และลักษณะขององค์ประกอบอื่นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความแข็งแรง ประหยัด สวยงาม และสามารถตอบสนองความต้องการในการใช้งานที่เหมาะสม พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและขั้นตอนการทำงาน เช่น พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดิน พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่แบบมีคานรองรับ พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อในที่ และพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงสำเร็จรูป

ข้อกำหนดในการออกแบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กตามมาตรฐาน วสท.1007-34

1. พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กทางเดียว (พื้นทางเดียว : One Way Slab) แนะนำให้ใช้ความหนาขั้นต่ำดังนี้ (กรณีไม่ได้คำนวณระยะโก่งตัว)

S/20 สำหรับพื้นช่วงเดียว

S/24 สำหรับพื้นสองช่วง

S/28 สำหรับพื้นสามช่วง

S/10 สำหรับพื้นยื่น
* S คือด้านสั้นของพื้น


2. พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กสองทาง (พื้นสองทาง : Two Way Slab) ให้ประมาณความหนาของแผ่นพื้นจาก (1/180) x เส้นรอบรูปของพื้นนั้นๆ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 8 ซม.


3. ในกรณีที่เป็นพื้นที่มีโอกาสเกิดการเสียดสีบ่อยๆ เช่น พื้นถนน พื้นโรงงาน ฯลฯ ให้เพิ่มความหนาของพื้นอีกอย่างน้อย 1.5 ซม.


4. เหล็กเสริมต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 6 มม.


5. ระยะเรียงเหล็กเสริมจะต้องมีค้าไม่เกิน 30 ซม. หรือ 3 เท่าของความหนาพื้น โดยเลือกใช้ค่าที่น้อยกว่า


6. เหล็กเสริมกันร้าว (Ast)ของพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กทางเดียว (พื้นทางเดียว : One Way Slab) ให้ใช้ดังนี้

Ast = 0.0025 x b x D สำหรับเหล็กเส้นกลม SR24

7. ในการออกแบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กให้คิดความกว้าง (b) เท่ากับ 100 ซม.


8. ระยะต่อทางเหล็กเสริมและระยะคอนกรีตหุ้มเหล็ก ให้เป็นไปตามมาตรฐาน วสท.1007-34


--------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น