วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต


ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ก็คือระยะของคอนกรีตที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมสัมผัสกับน้ำหรืออากาศโดยตรงเพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี หรือป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมทำปฏิกิริยากันเหล็กเสริมจนทำให้เกิดสนิมขุม และทำให้โครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุด ทั้งนี้การวัดความหนาของระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต ให้วัดจากผิวด้านนอกของคอนกรีตลึกเข้าไปจนถึงผิวด้านนอกของเหล็กปลอก (ในกรณีที่ไม่มีเหล็กปลอกก็ให้วัดถึงผิวของเหล็กเสริมเส้นนอกสุด) สำหรับคอนกรีตที่หล่อในที่ ควรมีระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีตต่ำสุดตามมาตรฐาน วสท. ดังนี้


ชนิดของโครงสร้าง ระยะหุ้มต่ำสุด (ซม.)
1. ฐานรากและองค์อาคารส่วนสำคัญที่สัมผัสกับดินตลอดเวลา 7.5
2. คอนกรีตที่สัมผัสกับดินหรือถูกแดดถูกฝน
– สำหรับเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 16 มม. 5
– สำหรับเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มม. และเล็กกว่า
5
3. คอนกรีตที่ไม่สัมผัสกับดินหรือไม่ถูกแดดไม่ถูกฝน
3.1 ในแผ่นพื้น ผนัง และตง
– สำหรับเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 44 มม. 4
– สำหรับเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 36 มม. และเล็กกว่า 2
3.2 ในคาน
– เหล็กเสริมหลักหรือเหล็กลูกตั้ง 3
3.3 ในเสา
– เหล็กปลอกเดี่ยวหรือเหล็กปลอกเกลียว 3.5
3.4 ในคอนกรีตเปลือกบางและพื้นแผ่นพับ
– สำหรับเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 16 มม. 2
– สำหรับเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มม. และเล็กกว่า 1.5
4. ให้เพิ่มความหนาของคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กได้ตามความเหมาะสม เมื่ออยู่ในสภาวะรุนแรง หรือบรรยากาศที่อาจก่อให้เกิดการผุกร่อน
5. หากมีการใช้ร่วมกับมาตรฐานอื่นใด เช่น โครงสร้างผนังบาง หรือการป้องกันอัคคีภัย ให้ใช้ค่าที่มากกว่าเป็นมาตรฐาน


--------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น